แชร์

วันพระราชทานธงชาติไทย

125 ผู้เข้าชม

 อนุสรณ์ฯ ชวนรู้: ๒๘ กันยายน วันพระราชทานธงชาติไทย

     พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้นใหม่ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๐ เนื่องจากในสมัยนั้น ประเทศไทยได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ กับประเทศสัมพันธมิตรที่ส่วนใหญ่ธงจะมีสามสี ธงชาติไทยในสมัยนั้นจึงเป็นรูปสี่เหลี่ยมรี ขนาดกว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน มีแถบสีน้ำเงินแก่ กว้าง ๑ ส่วน ซึ่งแบ่ง ๓ ของขนาดกว้างแห่งธงอยู่กลาง มีแถบขาวกว้าง ๑ ส่วน ซึ่งแบ่ง ๖ ของขนาดความกว้างแห่งธงข้างละแถบ แล้วมีแถบสีแดงกว้างเท่าแถบขาวประกอบชั้นนอกอีกข้างละแถบ และเรียกธงนี้ว่า "ธงไตรรงค์"
     โดยทรงกำหนดความหมายของสีธงชาติไทยไว้ว่า สีแดง หมายถึง ชาติ คือประชาชน สีขาว หมายถึง ศาสนา และสีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ ซึ่งธงไตรรงค์ หรือธงชาติไทย ถือเป็นสัญลักษณ์อันสูงสุดของชาติ เป็นสิ่งเตือนใจให้อนุชนได้รำลึกถึงการเสียสละเลือดเนื้อของบรรพบุรุษเพื่อรักษาไว้ซึ่งแผ่นดิน และร้อยดวงใจคนทั้งชาติให้เป็นหนึ่งเดียว หล่อหลอมความรักสามัคคี สร้างเสริมความภูมิใจในความเป็นชาติไทย ก่อเกิดเป็นพลังยิ่งใหญ่ในการพัฒนาชาติไทยให้วัฒนาสถาพร คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้จัดประชุมเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๙ และมีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ ๒๘ กันยายนของทุกปีเป็น "วันพระราชทานธงชาติไทย" (Thai National Flag Day) และเริ่มวันดังกล่าวในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐ เป็นวันแรก โดยไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ
ทั้งนี้ ได้กำหนดให้มีการชักและประดับธงชาติไทยในวันดังกล่าว เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติและเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่ได้พระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย สำหรับประเทศไทยนั้น เป็นประเทศที่ ๕๔ ของโลกที่มีวันธงชาติ ณ ห้องโลกนี้มีไทย ชั้น ๑ ที่พิพิธภัณฑ์ภายในอนุสรณ์สถานแห่งชาติ มีการจัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของธงชาติไทยให้ได้ศึกษาและเพิ่มเติมเรียนรู้กันด้วยนะคะ ท่านใดที่สนใจสามารถแวะมาเข้าชมได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชมด้วยค่ะ


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy